Oral contraceptive drug

ยาคุมกำเนิด (oral contraceptives)

Posted on July 26, 2009. Filed under: Oral contraceptive drug |

control_of_reproductive_hormones_large

ยาคุมกำเนิดแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ
1. ยาผสม estrogen-progestin
ยาในกลุ่มนี้สามารถยับยั้งการตกไข่ได้โดยการกดการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองและสมองส่วน hypothalamus โดย estrogen จะลดการหลั่งฮอร์โมน FSH จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ทำให้ยับยั้งการพัฒนาของ follicle ส่วน progestin จะยับยั้ง LH surge ซึ่งทำให้ไข่ไม่ตก นอกจากนั้นยังมีกลไกอื่นๆ อีก ่น progestin ทำให้สารเมือกที่ปากมดลูกเหนียวขึ้น จึงทำให้อสุจิเคลื่อนที่ได้ลำบาก และยังยับยั้งการพัฒนาของเยื่อบุโพรงมดลูก ทำให้มดลูกไม่เหมาะสมต่อการฝังตัวของตัวอ่อน

negative feedback

Estrogen

estrogen ที่อยู่ในยาคุมกำเนิดไม่ใช่ estrogen ที่มีอยู่ในธรรมชาติ แต่เกิดจากการสังเคราะห์ขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ส่วนใหญ่ในยาคุมกำเนิดจะมี ethinyl estradiol หรือไม่ก็ mestranol การให้ estrogen เพียงอย่างเดียวอาจมีผลข้างเคียงโดยทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญหนาขึ้น การให้ในระยะยาวจะทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง ดังนั้นจึงให้ร่วมกับ progestin ซึ่งจะทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเข้าสู่ secretory phase ทำให้สามารถหลุดลอกได้

Progestins

progestins ที่ใช้ในยาคุมกำเนิดแบ่งออกเป็น 3 generation

  • progestin รุ่นที่ 1 (first generation progestins) เช่น norgestrel หรือ levonorgestrel เป็นสารที่มีฤทธิ์ androgen สูง คือ สามารถกระตุ้น androgen receptor ได้ด้วย เนื่องจากโครงสร้างของ progestins มีลักษณะที่คล้ายกับ testosterone
  • progestin รุ่นที่ 2 (second generation progestins) ได้อยู่พัฒนาให้มีฤทธิ์ต่อ androgen ลดลงต่ำกว่ากลุ่มแรก เช่น norethindrone และ norethindrone acetate
  • progestin รุ่นที่ 3 (third generation progestins) มีฤทธิ์ androgen ต่ำลงไปอีก เช่น norgestimate โดยบางชนิดมีฤทธิ์ต้าน androgen ด้วย เช่น drospirenone

ยาคุมกำเนิดประเภทนี้ยังแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ

  • Monophasic  ซึ่งมีขนาดของ estrogen และ progestin เท่ากันทุกเม็ด
  • Biphasic จะมีขนาดของ estrogen คงที่ แต่ progestin ในครึ่งหลังมากกว่าครึ่งแรก
  • triphasic จะมีทั้ง estrogen และ progestin ในครึ่งหลังมากกว่าครึ่งแรก หรือ อาจจะมี estrogen ที่คงที่ แต่ progestin ในครึ่งหลังเพิ่มขึ้นสองครั้ง

ข้อดีของการกินยาคุมกำเนิดประเภท biphasic และ triphasic คือ progestin ที่ได้ทั้งหมดจะน้อยกว่า monophasic ซึ่งจะดีกว่า

ผลข้างเคียงของยาคุมกำเนิด

  • ผลที่เกิดจากการได้รับ estrogen มากเกินไป เช่น เต้านมมีขนาดใหญ่ มึนศีรษะ (dizziness) ปวดท้องประจำเดือน (dysmenorrhea) บวม (edema) ความดันเลือดสูง คลื่นไส้ อาเจียน น้ำหนักตัวเพิ่ม
  • ผลที่เกิดจากการได้รับ progestin มากเกินไป เช่น มีสิว ซึมเศร้า อ่อนเพลีย ขนดกตามใบหน้า มีความต้องการทางเพศสูงขึ้น
  • ผลที่เกิดจาก estrogen น้อยเกินไป เช่น ช่องคลอดแห้ง (atrophic vaginalis) เลือดออกทางช่องคลอด
  • ผลที่เกิดจาก progestin น้อยเกินไป คือ ปวดท้องประจำเดือน ประจำเดือนมามาก
  • นอกจากนั้นแล้วการกินยาคุมกำเนิดจะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง และมีลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด (thromboembolic disease) อาจทำให้เกิดหลอดเลือดในสมองอุดตัน (stroke) หรือ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (acute myocardial infarction) โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่ และอาจเกิดนิ้วในถุงน้ำดีได้

2. ยาที่มี progestin เพียงอย่างเดียว ในบางกรณีที่มีข้อห้ามในการใช้ estrogen เช่น การสูบบุหรี่ หรือ การที่มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม จึงใช้ progestins เป็นยาคุมกำเนิดเพียงอย่างเดียว ตัวอย่างยา เช่น norgestral norethindrone  ถึงแม้ประสิทธิภาพในการยับยั้งการตกไข่จะน้อย แต่มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดประมาณ 96-98% เนื่องจากผลอย่างอื่นของ progestin เช่น เพิ่มความเหนียวของ mucus ที่ปากมดลูกซึ่งรบกวนการเคลื่อนที่ของอสุจิ การรบกวนการเคลื่อนไหว (peristalsis) ของท่อนำไข่ และเปลี่ยนแปลงความพร้อมของ endometrium ต่อการฝังตัวของตัวอ่อน โดย progestin จะยับยั้งการแบ่งตัวของ endometrium และทำให้ endometrium เข้าสู่ระยะ secretory phase จึงทำให้ไม่เหมาะสมต่อการฝังตัวของตัวอ่อน

การใช้ในทางคลินิกเพื่อคุมกำเนิด

  • Medroxyprogesterone acetate ใช้เป็นยาฉีดใต้ผิวหนัง หรือเข้ากล้าม โดยฉีดทุก 3 เดือน
  • Etonogestral เป็นยาชนิดฝังใต้ผิวหนังที่แขน มีฤทธิ์นาน 3 ปี
  • ชนิดกิน ต้องกินทุกวัน

ผลข้างเคียง

  • เลือดออกทางช่องคลอดกะปริกะปรอย
  • ประจำเดือนไม่สม่ำเสมอไม่แน่นอน
  • ไม่มีประจำเดือน (Amenorrhea) เมื่อใช้ในระยะยาว
  • เพิ่มความเสี่ยงต่อการท้องนอกมดลูก

3. การคุมกำเนิดฉุกเฉิน (emergency contraception หรือ morning-after contraception)

เช่น การใช้ยาคุมกำเนิดในกรณีที่ถุงยางขาด หรือถูกข่มขืน ให้กิน levonorgestrel (Postinor2 หรือ PlanB) 0.75 mg ให้เร็วที่สุด และซ้ำอีกครั้งหลังจากกินครั้งแรก 12 ชั่วโมง ยานี้เป็น progestin ชนิดแรง จะยับยั้ง LH surge จึงป้องกันการตกไข่ และเปลี่ยนแปลง endometrium จนไม่เหมาะต่อการฝังตัวของตัวอ่อน 

Read Full Post | Make a Comment ( None so far )

Liked it here?
Why not try sites on the blogroll...