โรคกระเพาะอาหาร

Posted on July 22, 2009. Filed under: Peptic ulcer, Uncategorized |

stomachโรคกระเพาะอาหาร เป็นโรคยอดฮิด โดยเฉพาะในกลุ่มของคนทำงาน สาเหตุ ก็มักมาจากความเครียด และการกินอาหารไม่ตรงเวลา นอกจากนั้น การกินอาหารเผ็ดจัด ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ และการติดเชื้อแบคทีเรีย ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะได้
ยาที่ใช้ในการรักษา โรคกระเพาะอาหาร แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

1. ยาลดการเกิดกรดในทางเดินอาหาร

2. ยาที่เพิ่มสารเมือกในทางเดินอาหาร

ยาลดกรดในทางเดินอาหาร แบ่งออกเป็น

 กลไกของยาที่ยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร

1. Histamine H2 receptor antagonists หรือ H2 blockers เช่น cimetidine, ranitidine และ famotidine

                              ยาในกลุ่มนี้มีโครงสร้างคล้ายกับ histamine สามารถยับยั้งการหลั่งกรดได้โดยการแย่งจับกับ histamine  receptor บน parietal cells ซึ่งเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างกรด HCl ทำให้สามารถลดทั้งปริมาณกรดและเอนไซม์เพปซินในกระเพาะอาหารได้ ในปัจจุบัน ยาในกลุ่มนี้เป็นตัวเลือกรองจาก proton pump inhibitors ในการรักษาโรคกระเพาะอาหาร 

2. Proton pump inhibitors (PPI) เช่น omeprazole, lansoprazole, esomeprazole และ rabeprazole

                             ยาในกลุ่มนี้จะยับยั้ง proton pump หรือ H+/K+ ATPase ที่ผิวด้านบนของ parietal cell H+/K+ ATPase ทำหน้าที่นำกรด HCl ที่สร้างจาก parietal cell ออกไปยังกระเพาะอาหาร โดย PPI จะจับกับ H+/K+ ATPase อย่างถาวร ทำให้สามารถลดการหลั่งกรดได้มากกว่า 95% ดังนั้น PPI จึงเป็นยาที่ลดการหลั่งกรดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและออกฤทธิ์นานที่สุด จึงทำให้ PPI เป็น first line drug ที่ใช้ในการรักษาโรคกระเพาะอาหาร

3. Antacid เช่น aluminum hydroxide, magnesium hydroxide และ calcium carbonate

                       ยาเหล่านี้เป็นเบสอ่อนจึงต้านกรดโดยตรง ทำให้ pH ของกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น ทำให้อาหารของโรคหายอย่างรวดเร็ว แต่มีข้อเสียคือ ต้องกินยาในปริมาณที่มากจึงจะได้ผล

2. ยาที่เพิ่มสารเมือกในทางเดินอาหาร

1. sucrafate เป็นสาร polymer ของ sucrose octasulfate และ aluminium hydroxide มีลักษณะเหนียว จะเคลือบทางเดินอาหาร และเพิ่มการสังเคราะห์ prostaglandins ทำให้มีการหลั่ง mucus และ bicarbonate มากขึ้น ยาในกลุ่มนี้มักนิยมใช้ร่วมกับยาในกลุ่ม H2 blocker หรือ PPI ในการรักษาโรคกระเพาะอาหาร เพราะยานี้ไม่ได้ลดการหลั่งกรดโดยตรง

2. Misoprostol เป็น PGE1 analog เพิ่มการหลั่ง mucus และ bicarbonate โดยกระตุ้น EP3 receptor ที่ผิวด้านบนของ mucosal cell นอกจากนั้นยังยับยั้งการหลั่งกรดของ parietal cell และเพิ่มการไหลเวียนของเลือดสู่ mucosal โดยกระตุ้น EP3 receptor บนผิวเซลล์กล้ามเนี้อเรียบของหลอดเลือดบริเวณ mucosal ทำให้หลอดเลือดขยาย และลดการหลั่งกรด

Make a Comment

Leave a comment

Liked it here?
Why not try sites on the blogroll...